วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ภาษาผ่านเพลง...."นิทาน"

อีกหนึ่งกิจกรรม  ที่จัดกระบวนการเรียนรู้ทางภาษาผ่านบทเพลงแล้วเชื่อมโยงสู่หลักภาษา

กิจกรรม  : ภาษาผ่านบทเพลง..."นิทาน"

เป้าหมาย : เข้าใจความหมายของเพลง  เกิดความซาบซึ้งสามารถตีความหมายของเนื้อหา  แสดงความคิดเห็นและเชื่อมโยงสู่หลักภาษาได้

หลักภาษา : สำนวนสุภาษิต

สื่อ : เพลง "นิทาน"

การดำเนินกิจกรรม :
๑. อ่าน....เนื่อเพลง (ครูให้เนื้อเพลง)

มีหนึ่งเรื่องราว ตำนานเล่าขาน
เวลาช้านาน ได้โปรดฟัง
กระต่ายตัวน้อย เฝ้ามองดวงจันทร์
ที่เดิมทุกวัน ไม่ห่างไกล

สวยงาม โอ้จันทรา ดวงดารา ส่องลงมา
ช่างเฉิดฉาย ฝันไป จะวันนึง จะวันใด
จะไขว่และคว้ามา

มันก็เลยต้องปีน ปีนให้สูงขึ้นไป
ไม่ว่าสูงเท่าใด (ลาลาลา ลาลาลาลา)
มันก็เลยต้องปีน ปีนให้สูงขึ้นไป
จะยากเย็นเท่าไร (ลาลาลา ลาลาลาลา)

จะต้องเจ็บกี่ครั้ง ตกลงมากี่หน
สิ่งเดียวคือต้องอดทน
ลำบากลำบน เพื่อใฝ่และฝัน
จะต้องเจ็บกี่ครั้ง และต้องเจ็บกี่ครั้ง

สิ่งเดียวที่รู้ คือในตอนนี้ จะกี่วิธี จะขึ้นไป
กระต่ายตัวน้อย ไม่คอยความฝัน
เมื่อสิ่งที่หวัง ช่างห่างไกล

สวยงาม โอ้จันทรา ดวงดารา ส่องลงมา
ช่างเฉิดฉาย ฝันไป จะวันนึง จะวันใด
จะไขว่และคว้ามา

มันก็เลยต้องปีน ปีนให้สูงขึ้นไป
ไม่ว่าสูงเท่าใด (ลาลาลา ล้าลาลาลา)
มันก็เลยต้องปีน ปีนให้สูงขึ้นไป
จะยากเย็นเท่าไร (ลาลาลา ล้าลาลาลา)

จะต้องเจ็บกี่ครั้ง ตกลงมากี่หน
สิ่งเดียวที่ต้องอดทน
ลำบากลำบน เพื่อใฝ่และฝัน
จะต้องเจ็บกี่ครั้ง และต้องเจ็บกี่ครั้ง

โอ้อันว่าของสูงแม้หมายปองต้องใจ
จะทำยังไรจะคว้ามา
โอ้อันว่าของสูงแม้หมายปองต้องใจ
จะทำยังไรจะคว้ามา
โอ้อันว่าของสูงแม้หมายปองต้องใจ
จะทำยังไรจะคว้ามา

มันก็เลยต้องปีน ปีนให้สูงขึ้นไป
ไม่ว่าสูงเท่าใด (ลาลาลา ล้าลาลาลา)
มันก็เลยต้องปีน ปีนให้สูงขึ้นไป
จะยากเย็นเท่าไร (ลาลาลา ล้าลาลาลา)

จะต้องเจ็บกี่ครั้ง ตกลงมากี่หน
สิ่งเดียวคือต้องอดทน
ลำบากลำบน เพื่อใฝ่และฝัน
และในตอนสุดท้าย ถ้าคลาดเคลื่อนสิ่งนั้น

แต่ฉันก็จะยอม

๒. ครูตั้งคำถามชวนคิด
     - อ่านแล้วรู้สึกอย่างไร /มีคำไหน ประโยคใดที่อยากรู้หรือสงสัย
     - คิดเห็นอย่างไรกับเนื้อหาของเพลงนี้
๓. นักเรียนฟังเพลง ..http://youtu.be/7lZrt8UZZn0...
๔. ครูตั้งคำถามชวนคิด ต่อ
     - ฟังแล้วได้ความรู้หรือข้อคิดอะไรบ้าง /นึกถึงสำนวนสุภาษิตใด เพราะอะไร
๕. วาดภาพสื่อความหมายของเพลงและสำนวนสุภาษิตที่เกี่ยวข้อง
๖. ครูตั้งคำถามชวนคิด ต่อ
     - นอกจากนี้มีสำนวนสุภาษิตอะไรบ้างที่เรารู้จัก  และสำนวนสุภาษิตเหล่านั้นมีความหมายอย่างไร
๘. นักเรียนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับสำนวนสุภาษิต (ความหมาย  ประเภท การนำไปใช้  ประโยชน์  พร้อมยกตัวอย่าง)


วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ก้าวแรกกับการเรียนภาษาผ่านวรรณกรรม

ก่อนเข้าสู่การเรียนรู้เนื้อหาสาระ  ครูผู้สอนจะสร้างแรงเพื่อให้เกิดฉันทะ (ความอยาก) ในการเรียนรู้ โดยการเล่นสนุกกับการเรียนผ่านกิจกรรม "คาดเดาเรื่องราว เร้าแรงอยากเรียนรู้ สิ่งที่คิดอยู่คืออะไร"

ซึ่งครูจะนำชื่อเรื่องหรือภาพปกมาให้ผู้เรียนดู แล้วกระตุ้นด้วยคำถาม " เห็นอะไรบ้าง  รู้สึกอย่างไร  แล้วคิดว่าเรื่องราวน่าจะเป็นอย่างไร"  หลังจากนั้นจึงให้ผู้เรียนเขียนเรื่องราวตามจินตนาการแล้วนำมานำเสนอแลกเปลี่ยนร่วมกัน

ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้ของห้องเรียน ป.6 สอนโดยครูสังข์ (นายนิคม  ศาลาทอง)
 





วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ภาษา...ผ่านบทเพลง

การเรียนรู้ภาษาอีกรูปแบบที่นักเรียนสนใจและสนุกกับการเรียนรู้ นั่นคือ "การเรียนรู้ภาษา..ผ่านบทเพลง"

เพราะ....บทเพลง......มีความงดงามในการใช้คำอย่างสร้างสรรค์ สื่อให้เห็นวิถีชีวิตหรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อน้อมนำมาสู่การเรียนรู้

แล้วเราจะเรียนรู้ได้อย่างไรล่ะ ?????
ไม่ยากค่ะ...มีขั้นตอนง่ายๆ
๑. คาดเดา
๒. อ่านและฟัง
๓. ฟังแล้วตีความเพื่อสร้างความเข้าใจ
๔. ถ่ายทอด
๕. เชื่อมโยงหลักภาษา

ขยายความเพิ่มค่ะ
๑. คาดเดา คือ การคาดเดาเรื่องราวที่น่าจะเป็น โดยครูกระตุ้นด้วยชื่อบทเพลง (เห็นชื่อนี้แล้วคิดอย่างไร เพราะอะไร)

๒. อ่าน คือ การอ่านเนื้อเพลง หลังจากอ่านเสร็จ ครูตั้งคำถามที่เชื่อมโยงพฤติกรรมสมองเพื่อกระตุ้นการคิด (กล่าวถึงอะไรบ้าง  เกิดที่ไหน เกี่ยวกับอะไร คิดเห็นอย่างไร สื่อถึงอารมณ์ ความรู้สึกใดบ้าง  เป็นต้น)

๓. ฟังแล้วตีความเพื่อสร้างความเข้าใจ คือ หลังจากนั้นค่อยฟังเพลงแล้ววิเคราะห์ร่วมกัน...จากเนื้อเพลงนี้เป็นการสื่อสารเกี่ยวกับอะไร รู้ได้อย่างไร คำแต่คำในเพลงมีความหมายอย่างไร (คำศัพท์ใหม่ๆ ที่ได้เรียนรู้)

๔. ถ่ายทอด คือ จากเพลงเราสื่อออกมาให้คนอื่นเข้าใจได้อย่างไร ซึ่งงานนี้ต้องให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน เช่น เด็กเล็กอาจจะวาดภาพ  เด็กโตอาจจะเป็นงานที่ยากขึ้น  มีความปราณีตละเอียดขึ้น เช่น ละคร เอนิเมชั่น  หรือสร้างสรรค์โดยการนำเสนอการร้องในแบบฉบับของนักเรียนเอง)

๕. เชื่อมโยงหลักภาษา ซึ่งครูมีเป้าหมายอยู่แล้วว่าบทเพลงที่นำมาใช้ในการเรียนรู้นั้นเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหลักภาษาเรื่องอะไร ครูก็ออกแบบการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหานั้นๆ โดยที่ครูไม่ใช่ผู้สอน แต่ให้นักเรียนได้ลงมือและเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

แต่สิ่งสำคัญของการจัดกิจกรรมนี้อยู่ที่การเลือกเพลงและการทำความเข้าใจในเพลงของครูผู้สอนนะคะ

ตัวอย่างบางบทเพลงค่ะ