วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เริ่มต้นยังไงในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางภาษา?


ทำอย่างไรจะให้เด็กอยากเรียน
ทำอย่างไรจะทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน
............

คำถามดูเหมือนจะยาก แต่ก็ไม่เกินกว่าความตั้งใจ
ครูต้องรู้จักสังเกต และเป็นนักเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน
ครูไม่ใช่ผู้สอนความรู้ แต่เป็นผู้เอื้ออำนวยที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ต่างหาก

เมื่อ ครูตระหนักในประเด็นนี้...ครูก็จะเปิดประตูบานกว้าง เกิดมุมมองในการจัดกิจกรรมได้อย่างหลากหลาย และที่สำคัญทำให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ เพราะเด็กได้ปะทะเอง บ่มเพาะ จนเกิดองค์ความรู้ที่คงทนมากกว่าการจำความรู้

จาก การสังเกต และคำถามที่ว่า....เด็กต้องการอะไร? ในการเรียนรู้  เราจะพบว่าเด็กทุกคนต่างก็ต้องการ "ความสุข"   "ความสนุกสนาน" และ "การยอมรับ"  ในการเรียนรู้แทบทั้งนั้น

เมื่อรู้ว่าเด็กต้องการอะไรแล้ว เราก็พอจะรู้แล้วว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นั้นจะเริ่มต้นอย่างไร

"รัก" และ "เข้าใจ"
อย่างไหนที่จะเริ่มต้นก่อน

ปล.....ความรักนำมาซึ่งความเข้าใจ และ ความเข้าใจก็นำมาซึ่งความรัก (คำกล่าวของครูใหญ่โรงเรียนนอกกะลา : วิเชียร  ไชยบัง)





วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบหน่วยการเรียนแบบ Backward design


หลักการของ  Backward  Design
                กระบวนการออกแบบแบบย้อนกลับ (Backward  Design) ของ Wiggins และ McTighc เริ่มจากคิดทุกอย่างให้จบสิ้นสุด  จากนั้นจึงเริ่มต้นจากปลายทางที่ผลผลิตที่ต้องการ (เป้าหมายหรือมาตรฐานการเรียนรู้) สิ่งนี้ได้มาจากหลักสูตร เป็นหลักฐานพยานแห่งการเรียนรู้  (Performances)  ซึ่ง เรียกว่า มาตรฐานการเรียนรู้ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนในสิ่งที่จำเป็นให้กับนักเรียนเพื่อเป็นเครื่อง มือที่นำไปสู่การสร้างผลงานหลักฐานแห่งการเรียนรู้นั้นได้               
                กระบวนการออกแบบการวางแผนของครูผู้สอนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องกัน  3 ขั้นตอน                 
                                ขั้นตอนที่  1          การกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์               
                                ขั้นตอนที่  2          การกำหนดหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายที่พึงประสงค์               
                                ขั้นตอนที่  3          การวางแผนประสบการณ์การเรียนรู้และการสอน
แต่ละขั้นตอนประกอบด้วยคำถามที่ว่า
                                ขั้นตอนที่  1          อะไรคือความเข้าใจที่ต้องการและมีคุณค่า
                                ขั้นตอนที่  2          อะไรคือพยานหลักฐานของความเข้าใจ
                                ขั้นตอนที่  3          ประสบการณ์การเรียนรู้และการสอนอะไรที่จะสนับสนุนทำให้เกิดความเข้าใจ ความสนใจ และความยอดเยี่ยมในหลักฐานนั้นๆ


การออกแบบตามวิธีการ  Backward Design  จะมีประเด็นหลักดังนี้  

ประเด็นหลัก
ข้อคำนึงในการออกแบบ
เกณฑ์ในการกลั่นกรอง
ผลงานการออกแบบจะได้อะไร
ขั้นตอนที่ 1อะไรที่มีคุณค่าควรแก่การสร้างความเข้าใจ
-    มาตรฐานชาติ
-    มาตรฐานพื้นที่
-    ประเด็นท้องถิ่น
-    ความชำนาญและความสนใจของครู
-    แนวคิดที่ผู้เรียนจะนำไปใช้ได้อย่างยั่งยืน
-    โอกาสที่จะทำโครงงานตามสาระนั้น
-        โอกาสที่จะเรียนรู้ในสภาพจริง
-    ประเด็นที่ควรทำความเข้าใจเป็นพิเศษ
หน่วยการเรียนรู้ที่จะสร้างความเข้าใจที่ยั่งยืนและกระตุ้นให้คิดในประเด็นหลัก 
ขั้นตอนที่ 2อะไรคือหลักฐานว่าได้เกิดความเข้าใจตามที่กำหนดไว้
-    ความเข้าใจ ๖ ด้าน
-    การประเมินผลที่ต่อเนื่องกันในหลากหลายรูปแบบ
-    ความตรงประเด็น
-    ความเที่ยงตรง
-    ความเป็นไปได้
-    ความพอเพียง
 -    สภาพความเป็นจริง
-    เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
หน่วยการเรียนที่คำนึงถึงหลักฐานของผลการเรียน ที่เน้นความเข้าใจและเป็นหลักฐานที่มีคุณภาพมาตรฐานตามหลักวิชา 
ขั้นตอนที่ 3 กิจกรรมการเรียนการสอนใดที่จะสร้างเสริมความเข้าใจความสนใจ  และความเป็นเลิศ
-    ยุทธศาสตร์การเรียนการสอนที่วางอยู่บนพื้นฐานงานวิจัย 
-    เนื้อหาสาระและทักษะที่จำเป็นและเอื้อต่อการเรียนอื่นๆ
วิธีการที่ใช้ชื่อย่อว่า WHERE
-               Where จะไปสู่เป้าหมายอะไร
-       Hook  จะตรึงผู้เรียนได้อย่างไร
-       Explore และ Equip  จะช่วยผู้เรียนให้มีความพร้อมที่จะแสวงหาความรู้อย่างไร
-       Rethink จะทบทวนอย่างไร
-       Evaluate และ Exhibit จะประเมินผลและนำเสนอผลงานอย่างไร
 หน่วยการเรียนรู้ที่ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนการสอน ที่สอดประสานกัน  เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจ ความสนใจและความเป็นเลิศของผู้เรียน 

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แผนผังความคิด Mind mapping กับการเรียนรู้ภาษา

แผนผังความคิด Mind Mapping คืออะไร


Mind Mapping คือ การถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมองลงกระดาษ โดยการใช้ภาพ สี เส้น และการโยงใย แทนการจดย่อแบบเดิมที่เป็นบรรทัด ๆ เรียงจากบนลงล่าง ขณะเดียวกันก็ยังช่วยเป็นสื่อนำข้อมูลจากภายนอก เช่น หนังสือ คำบรรยาย การประชุม ส่งเข้าสมองให้เก็บรักษาไว้ได้ดีกว่าเดิม ซ้ำยังช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายเข้า เนื่องจะเห็นเป็นภาพรวม และเปิดโอกาสให้สมองให้เชื่อมโยงต่อข้อมูลหรือ ความคิดต่าง ๆ เข้าหากันได้ง่ายกว่า


การสร้าง Mind Mapping
 
1. เริ่มด้วยภาพสีตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ
2. ใช้ภาพให้มากที่สุดใน Mind Mapping ตรงไหนที่ใช้ภาพได้ให้ใช้ก่อนคำ :7j'เป็นการช่วยการทำงานของสมอง ดึงดูดสายตา และช่วยความจำ
3. เขียนคำเหนือเส้นใต้ และเขียนคำให้กระชับ
4. เส้นต้องเชื่อมต่อกับเส้นอื่นๆ และลดขนาดตามความสำคัญ
5. ใช้สีทั่ว Mind Mapping เพราะสีช่วยยกระดับความคิด เพลินตา กระตุ้นสมองซีกขวา
6. เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ควรปล่อยให้สมองคิดมีอิสระมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้


การฝึกสำหรับเขียนแผนผังความคิด Mind mapping (ครูสู่เด็ก)

ภาพ ๑ ฝึกเขียนแก่นแกนตรงกลาง

ภาพ ๒ ฝึกเขียนกิ่งแก้ว ที่สัมพันธ์กับแก่นแกน

ภาพ ๓ ฝึกเขียนกิ่งแก้ว ซึ่งสัมพันธ์กับกิ่งก้อย



















ตัวอย่างแผนผังความคิด Mind mapping ในกิจกรรมการเรียนรู้ทางภาษา

 

การออกแบบหน่วยการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรม

โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา ได้แบ่งเวลาเรียนในแต่ละปีการศึกษาออกเป็นระยะเวลาย่อยๆ เรียกว่า Quarter ซึ่งจะมีทั้งหมด 4 Quarter / ปีการศึกษา และแต่ละ Quarter จะมีเวลาเรียน 10 สัปดาห์ ดังนั้นเวลาเรียนรวมจึงได้ทั้งหมด 40 สัปดาห์

ในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ของภาษาไทยจึงได้กำหนดหน่วยการเรียนรู้ของแต่ละ Quarter เสมือนเป็นเค้าโครงให้กับคุณครูผู้สอนในปีการศึกษานั้นๆ ดังนี้

เมื่อครูผู้สอนรู้เค้าโครงในการออกแบบหน่วยแล้ว ครูจะเชื่อมโยงจากหลักสูตรแกนกลาง 2551 ว่าเป้าหมายของแต่ละชั้นนั้นต้องการให้ผู้เรียนบรรลุมาตรฐานอะไร หน้าที่ของครูขั้นต่อมาคือเลือกวรรณกรรมที่เหมาะสมเพื่อให้สอดรับกับวัยและหลักสูตรแกนกลางนั้น (ขั้นนี้ครูในทีมภาษาไทยจะต้องระดมสมองร่วมกัน เพื่อให้ครอบคลุมและเหมาะสมที่สุด)

ตัวอย่างหน่วยการเรียนที่ได้จากการวิเคราะห์ตามหลักสูตรของแต่ละชั้น