วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แก้คำผิด

"ทำไมครูโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจึงติดโชว์ผลงานของเด็กๆ โดยไม่แก้คำผิด?"  เป็นคำถามของครูที่มาเข้าอบรมหลายท่าน

การตรวจเช็คและแก้ไขโดยครูเป็นการมองจากครูฝ่ายเดียวซึ่งครูกำลังมองภาษาในรูปแบบตายตัว ไม่ยืดหยุ่น และไม่สามารถนำมาลองผิดลองถูกได้  การที่ครูแก้คำถูกผิดด้วยตัวแดงพรืดเต็มไปหมด อาจทำให้เด็กรู้สึกภาษาเป็นสิ่งน่ากลัว และอาจรู้สึกว่าตัวเองด้อยความสามารถจนไม่กล้าที่จะเขียนคำใหม่ๆ อีกต่อไป

มอนเตสซอรี่ก็เชื่อว่า ถึงเด็กจะเขียนผิดถูกอย่างไรก็ได้ แต่เมื่อเด็กเริ่มอ่านหนังสือได้เขาจะตื่นตัวที่จะเช็คคำผิดคำถูกด้วยตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อเขารักการอ่านและมีประสบการอ่านมากขึ้นเขาจะยิ่งกระตือรือร้น ในการตรวจเช็คคำผิดด้วยตัวเอง

ณ โรงเรียนนอกกะลา  การตรวจแก้คำผิดจะต้องไม่เป็นการทำลายคุณค่าความเป็นมนุษย์ในตัวเด็ก
ระดับอนุบาล  ไม่มีการแก้คำผิดใดๆ ทั้งสิ้น  แต่ให้เห็นแบบถูกเสมอ
ระดับประถมศึกษา  อาจจะใช้วิธีการรวบรวมคำที่เด็กแต่ละคนเขียนผิดมาเขียนไว้มุมหนึ่งของกระดาน  ให้มีโอกาสได้เห็นคำเหล่านั้นบ่อยๆ และใช้บางคำในจำนวนนั้นอย่างถูกต้อง แล้วหลังจากนั้นเด็กๆ ก็จะตรวจเช็คสมุดของตัวเองอย่างกระตือรือร้น
ระดับมัธยมศึกษา  สามารถแก้ไขคำถูกผิดให้กับนักเรียนได้เลย  เพราะตัวตนด้านใน (การเห็นคุณค่าในตนเอง) ได้ขึ้นรูปที่มั่นคงแล้ว การชี้ในส่วนที่ผิดในเด็กโตจึงไม่ได้เป็นการทำลายคุณค่า

“ภาษาจะเป็นสิ่งน่ารำคาญ ถ้ามันอธิบายความหมายที่อยู่ใต้บรรทัดไม่ได้

บทความโดย..ครูใหญ่นอกกะลา (นายวิเชียร ไชยบัง) http://lamplaimatpattanaschool.blogspot.com/2012/07/blog-post_10.html

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประเมินและสะท้อนตนเอง

การประเมินและการสะท้อนตนเอง ทำให้ผู้เรียนได้สะท้อนตัวตนของตนเองว่าสิ่งใดบ้างที่ทำได้ดีและสิ่งใดบ้างที่เราอยากพัฒนาตนเองเพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้เข้าใจตนเองมากยิ่งขึ้น

: กิจกรรมนี้ใช้ทุกกลุ่มสาระวิชา ทุกกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อฝึกการมองตนและสะท้อนตน เพื่อการเข้าใจตน

บางชิ้นงานของนักเรียน (พี่ ป.๒ และ ป.๓)
 

























วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ตัวละครที่ชื่นชอบ

การคิดวิเคราะห์สังเคราะห์อย่างมีเหตุผล ก็เป็นอีกหนึ่งของพฤติกรรมสมองที่แสดงออกถึงความเข้าใจ ดังนั้นครูผู้สอนจึงได้ใช้คำถามกระตุ้นคิดกับผู้เรียนหลังจากที่อ่านวรรณกรรมจบ เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ


อย่างเช่น พี่ๆ ป.๔ ที่อ่านวรรณกรรม "สายลมกับทุ่งหญ้า" จบแล้ว   ครูยิ้ม (ครูผู้สอน) ก็ได้ตั้งคำถามแล้วให้ผู้เรียนวาดภาพและเขียนวิเคราะห์ตัวละครที่ชื่นชอบ พร้อมนำเสนอสู่กันและกันฟัง



ผลงานของเด็กๆ





ความประทับใจ...ในวรรณกรรมที่อ่าน

เมื่ออ่านวรรณกรรมจบแล้ว ครูผู้สอนจะกระตุ้นถาม "มีความประทับใจอะไรจากเรื่องที่เราได้อ่าน"
กิจกรรมนี้ ผู้เรียนจะได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเครราะห์ และได้ใช้ทักษะทางภาษาในการเขียนและพูดนำเสนองาน

ตัวอย่าง....ชิ้นงาน "ความประทับใจของพี่ป.4-5 หลังจาการอ่านวรรณกรรม" (วรรณกรรม เรื่อง อธิษฐานสิจ๊ะกับนางฟ้าสีเขียว และสายลมกับทุ่งหญ้า สอนโดย...ครูยิ้ม)







 

ถ่ายทอดความเข้าใจ

หลังจากกิจกรรมที่ผู้เรียนได้อ่านอ่านวรรณกรรม แล้วสนทนาถามตอบที่เชื่อมสู่พฤติกรรมสมองและแล้ว ครูผู้สอนจะกระตุ้นด้วยคำถาม "เรื่องที่ได้อ่านจะถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจได้ง่าย ได้อย่างไร" ซึ่งผู้เรียนจะได้ใช้ทั้งทักษะการคิด ทักษะทางภาษา เพื่อทำชิ้นงานที่สื่อความเข้าใจออกมาสู่คนอื่น

ตัวอย่างกิจกรรม 
"ถ่ายทอดภาษาจากร้อยแก้วเป็นการ์ตูนช่องหลากหลายมิติ กระตุ้นการคิดและจินตนาการของพี่ ป.๕" โดย...ครูยิ้ม




วรรณกรรม "อธิษฐานสิจ๊ะกับนางฟ้าสีเขียว" ที่ พี่ๆ ป.๕ ได้อ่าน







การ์ตูนช่อง.....ผลงานของผู้เรียน











 

จินตนาการก่อนเข้าสู่วรรณกรรม

จินตนาการนางฟ้าสีเขียว จากพี่ๆ ป.๕ ก่อนเรียนรู้ภาษาไทยผ่านวรรณกรรม.............
 
ชั่วโมงแรกของการเรียนรู้ภาษาผ่านวรรณกรรมนั้น ครูผู้สอนจะสร้างแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า "การสร้างฉันทะ" ในการเรียนรู้ก็ได้

ตัวอย่างกิจกรรมของพี่ๆ ป.๕ ที่ครูยิ้มได้กระตุ้นด้วยการทำกิจกรรมวาดภาพตัวละคร "นางฟ้าสีเขียว" ตามจินตนาการ

(ขอบคุณครูยิ้มและพี่ๆ ป.๕ ค่ะ)