การสอนภาษา จะเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยที่ครูจัดกระทำในสิ่งที่เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรม ชง เชื่อม ใช้
ดังกรณีตัวอย่าง ดังนี้
ดังกรณีตัวอย่าง ดังนี้
กรณี การอ่านเรื่อง / วรรณกรรม
ชง นักเรียนอ่านเรื่องโดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว / อ่านต่อเนื่องกัน / อ่านพร้อมกัน) หรืออ่านในใจ หรือครูอ่านให้ฟัง
เชื่อม ครูตั้งคำถามเพื่อให้เด็กแต่ละคนได้คิด ได้แสดงความคิด ได้รับฟังเพื่อรับรู้แง่มุมที่แตกต่าง เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน โดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ: ตัวละครมีใครบ้าง? เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง
เข้าใจ: สรุปเรื่องหรือข้อคิดที่ได้
วิเคราะห์ / สังเคราะห์ :วิเคราะห์ / สังเคราะห์เหตุการณ์ ลักษณะนิสัยของตัวละคร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : สรุปเหตุการณ์ เทียบเคียงกับชีวิตจริง
ประเมินค่า : การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร / เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : แต่งเรื่องใหม่ แต่งตอนจบใหม่ วาดภาพประกอบ ออกแบบฉาก การ์ตูนช่อง
กรณี เรียนรู้หลักภาษา
ชง นักเรียนอ่านเรื่อง หรือฟังคุณครูอ่านเรื่อง แล้วให้เด็กค้นหาคำแม่ ก กา หรือคำมาตราตัวสะกด หรือคำเป็นคำตาย หรือชนิดของคำ(นาม กริยา สรรพนาม ฯลฯ) หรือคำราชาศัพท์ หรือคำสุภาพ หรือคำประวิสรรชนีย์ ไม่ประวิสรรชนีย์ หรือคำควบกล้ำ ฯลฯ จากเรื่องที่อ่าน ตามเป้าหมายของการสอนครั้งนั้น
เชื่อม นำเสนอคำที่ได้ และแลกเปลี่ยนคำที่ได้กับเพื่อนในชั้น ซึ่งจะได้คำที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อตรวจสอบว่าใช่หรือไม่ เพราะอะไร แล้วช่วยกันอธิบายความหมายของคำศัพท์นั้นพร้อมยกตัวอย่าง
ใช้ เป็นการทำแบบฝึก ชิ้นงาน ภาระงาน เช่น นำคำศัพท์เหล่านั้นมาแต่งประโยค / เรื่องราว/ นิทานหรือหาคำที่มีความหมายใกล้เคียงหรือตรงกันข้ามกับคำศัพท์นั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น