วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

Lesson Study กระบวนการพัฒนาครู1

"การสร้างการเรียนรู้ที่ดีครูต้องรับผิดชอบในการวางแผนการจัดกิจกรรม และการสร้างการเรียนรู้ที่ดีนั้นครูต้องรับผิดชอบร่วมกัน"


หนึ่งในกระบวนการที่ช่วยในการพัฒนาครุผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจ  สามารถจัดการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายนั้น  ที่โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจะพัฒนาครูผู้สอนทั้งกระบวนการของ PLC : Professional Learning Community และกระบวนการ Lesson Study

ตัวอย่างการทำ Lesson Study ในกลุ่มสาระวิชาภาษาไทย


Lesson Study ภาษาไทย เรื่องคำลักษณะนาม ของพี่ๆ ชั้น ป.6 โดยครูฟ้า


ก่อนการจัดกิจกรรมในวันนี้ครูผู้สอนภาษาไทยได้ร่วมกันวางแผนในการออกแบบกิจกรรมร่วมกัน (BAR : Before Action Review)


หลังจากนั้นครูผู้สอนจะนำกิจกรรมที่ร่วมกันออกแบบนั้นไปใช้ในชั้นเรียนของตนเอง (ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้)

ขั้นชง : ครูมีบัตรคำจากนิทานชาดก จากพระไตรปิฎกตอน ฝูงนกทะเลาะกัน มาให้นักเรียนช่วยกันอ่านออกเสียงและอธิบายความหมายของคำนั้นๆ



ขั้นเชื่อม : นักเรียนนำคำที่ได้มาจัดกลุ่มคำที่เกี่ยวข้องกัน  สัมพันธ์กัน แล้วร่วมวิเคราะห์ สังเคราะห์อภิปรายเกี่ยวกับกลุ่มคำนั้นๆ แล้วตั้งคำถามชวนคิดเชื่อมโยงสู่คำและลักษณะนามของคำนั้นๆ








ขั้นใช้ : นำคำจากการจัดกลุ่มคำนามและคำลักษณะนามมาใช้ในการเขียนเรื่องสร้างสรรค์ตามจินตนาการ (จะได้ชิ้นงานที่นำไปสู่การวัดและการประเมินผล)




และเมื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้วันนี้เสร็จ  ทีมครูจะช่วยกัน AAR (After Action Review) เพื่อการพัฒนาต่อไป




วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

ชิ้นงาน สื่อสารความเข้าใจ

กระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ คือ การได้ลงมือทำ  ได้ปะทะข้อมูล เพื่อตกผลึกความเข้าใจด้วยตนเอง  ซึ่งบทบาทของครูนั้นจะเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้  อยากทำ ด้วยการตั้งคำถามกระตุ้นคิด ท้าทาย เหมาะสมกับวัย  อีกทั้งผู้เรียนได้ใช้ศักยภาพในการเรียนรู้อย่างเต็มที่

ทุกชั่วโมงของการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนจะได้ทำชิ้นงานเพื่อสื่อสารความเข้าใจทั้งที่เกี่ยวข้องกับวรรณกรรมหรือหลักภาษาตามเป้าหมายของการเรียนรู้เสมอ

ตัวอย่างชิ้นงาน















ที่นี่ไม่มีการสอบ เพราะประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง  ชิ้นงานคือการประเมินอีกรูปแบบหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทั้งหมด