วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การเชื่อมวรรณกรรมสู่หลักภาษา

"เชื่อมวรรณกรรมกับหลักภาษา"

ชั่วโมงที่ 3 ของการเรียนรู้ภาษาไทย ในสัปดาห์นี้
_ครู(ชง) กระตุ้นด้วยสื่อบัตรคำหรือข้อความจากวรรณกรรมที่อ่าน แล้วตั้งคำถามกระตุ้นคิดที่สอดรับกับหลักภาษาที่เป็นเป้าหมายของการเรียนรู้ในสัปดาห์
_ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ Active Learning โดยได้ร่วมคิด ได้ลงมือปฏิบัติ ได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน (เชื่อม)
_ได้ทำชิ้นงานหรือภาระงาน (ใช้) เพื่อสื่อสารความเข้าใจ

การเชื่อมวรรณกรรมสู่พฤติกรรมสมองผ่านชิ้นงาน

"การพูดและการเขียนคือการสื่อสารความเข้าใจ ฝึกฝนการใช้ภาษา ครูควรกระตุ้นให้เด็กกล้าที่จะใช้ภาษาไม่ใช่กลัว"
การเรียนภาษาผ่านวรรณกรรม
เมื่ออ่านเรื่องเสร็จ
_ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดที่เชื่อมโยงสู่พฤติกรรมสมอง
_ผู้เรียนได้พูดแสดงความคิดในการตอบคำถามอย่างมีเหตุผล
_ผู้เรียนได้สื่อสารความเข้าใจผ่านการทำชิ้นงาน(การเขียน) และการนำเสนอ
เพียงครูใช้คำพูดเชิงบวก ชื่นชม ให้กำลังใจ ไม่คอยจับผิดแต่สร้างความเข้าใจให้กับผู้เรียน เด็กก็กล้าที่จะใช้ภาษาในการสื่อสาร
ขอบคุณผลงานบางส่วนจากพี่ๆ ป.2 และ ป.3 ในชั่วโมงที่ 2 ของการเรียนรู้ภาษาไทย










วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การอ่านวรรณกรรม

"การอ่านออกเขียนได้เป็นสิ่งที่จำเป็นพื้นฐาน
แต่เราต้องพาผู้เรียนไปให้สูงกว่านั้น"

_การอธิบายความหมายใต้บรรทัด การตีความในสิ่งที่อ่านเพื่อเข้าใจในสิ่งที่เรื่องกำลังสื่อสาร
_ความซาบซึ้ง เข้าถึงแก่นและเชื่อมโยงสู่การปรับประยุกต์ใช้

ทุกครั้งที่อ่านวรรณกรรม ครูต้องตั้งคำถามที่จะเชื่อมโยงสู่พฤติกรรมสมอง (จำ_เข้าใจ_นำไปใช้_วิเคราะห์_สังเคราะห์_ประเมินค่า_สร้างสรรค์) เพื่อฝึกการคิดและการใคร่ครวญ น้อมสู่การเกิดความเข้าใจ

ภาษาไทยผ่านวรรณกรรม ณ โรงเรียนนอกกะลา (ที่นี่ไม่มีแบบเรียน)

ภาพ : พี่ๆ ป.2 อ่านวรรณกรรม"นิทานลูกสัตว์" เรื่อง ลูกแมวและลูกกระรอก และพี่ๆ ป.3 กำลังอ่านวรรณกรรม "นิทานนานาชาติ" เรื่อง คนเบื่อตนเอง