วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การออกแบบหน่วยการเรียนแบบ Backward design


หลักการของ  Backward  Design
                กระบวนการออกแบบแบบย้อนกลับ (Backward  Design) ของ Wiggins และ McTighc เริ่มจากคิดทุกอย่างให้จบสิ้นสุด  จากนั้นจึงเริ่มต้นจากปลายทางที่ผลผลิตที่ต้องการ (เป้าหมายหรือมาตรฐานการเรียนรู้) สิ่งนี้ได้มาจากหลักสูตร เป็นหลักฐานพยานแห่งการเรียนรู้  (Performances)  ซึ่ง เรียกว่า มาตรฐานการเรียนรู้ แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนในสิ่งที่จำเป็นให้กับนักเรียนเพื่อเป็นเครื่อง มือที่นำไปสู่การสร้างผลงานหลักฐานแห่งการเรียนรู้นั้นได้               
                กระบวนการออกแบบการวางแผนของครูผู้สอนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องกัน  3 ขั้นตอน                 
                                ขั้นตอนที่  1          การกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์               
                                ขั้นตอนที่  2          การกำหนดหลักฐานที่แสดงว่าผู้เรียนได้บรรลุเป้าหมายที่พึงประสงค์               
                                ขั้นตอนที่  3          การวางแผนประสบการณ์การเรียนรู้และการสอน
แต่ละขั้นตอนประกอบด้วยคำถามที่ว่า
                                ขั้นตอนที่  1          อะไรคือความเข้าใจที่ต้องการและมีคุณค่า
                                ขั้นตอนที่  2          อะไรคือพยานหลักฐานของความเข้าใจ
                                ขั้นตอนที่  3          ประสบการณ์การเรียนรู้และการสอนอะไรที่จะสนับสนุนทำให้เกิดความเข้าใจ ความสนใจ และความยอดเยี่ยมในหลักฐานนั้นๆ


การออกแบบตามวิธีการ  Backward Design  จะมีประเด็นหลักดังนี้  

ประเด็นหลัก
ข้อคำนึงในการออกแบบ
เกณฑ์ในการกลั่นกรอง
ผลงานการออกแบบจะได้อะไร
ขั้นตอนที่ 1อะไรที่มีคุณค่าควรแก่การสร้างความเข้าใจ
-    มาตรฐานชาติ
-    มาตรฐานพื้นที่
-    ประเด็นท้องถิ่น
-    ความชำนาญและความสนใจของครู
-    แนวคิดที่ผู้เรียนจะนำไปใช้ได้อย่างยั่งยืน
-    โอกาสที่จะทำโครงงานตามสาระนั้น
-        โอกาสที่จะเรียนรู้ในสภาพจริง
-    ประเด็นที่ควรทำความเข้าใจเป็นพิเศษ
หน่วยการเรียนรู้ที่จะสร้างความเข้าใจที่ยั่งยืนและกระตุ้นให้คิดในประเด็นหลัก 
ขั้นตอนที่ 2อะไรคือหลักฐานว่าได้เกิดความเข้าใจตามที่กำหนดไว้
-    ความเข้าใจ ๖ ด้าน
-    การประเมินผลที่ต่อเนื่องกันในหลากหลายรูปแบบ
-    ความตรงประเด็น
-    ความเที่ยงตรง
-    ความเป็นไปได้
-    ความพอเพียง
 -    สภาพความเป็นจริง
-    เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
หน่วยการเรียนที่คำนึงถึงหลักฐานของผลการเรียน ที่เน้นความเข้าใจและเป็นหลักฐานที่มีคุณภาพมาตรฐานตามหลักวิชา 
ขั้นตอนที่ 3 กิจกรรมการเรียนการสอนใดที่จะสร้างเสริมความเข้าใจความสนใจ  และความเป็นเลิศ
-    ยุทธศาสตร์การเรียนการสอนที่วางอยู่บนพื้นฐานงานวิจัย 
-    เนื้อหาสาระและทักษะที่จำเป็นและเอื้อต่อการเรียนอื่นๆ
วิธีการที่ใช้ชื่อย่อว่า WHERE
-               Where จะไปสู่เป้าหมายอะไร
-       Hook  จะตรึงผู้เรียนได้อย่างไร
-       Explore และ Equip  จะช่วยผู้เรียนให้มีความพร้อมที่จะแสวงหาความรู้อย่างไร
-       Rethink จะทบทวนอย่างไร
-       Evaluate และ Exhibit จะประเมินผลและนำเสนอผลงานอย่างไร
 หน่วยการเรียนรู้ที่ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนการสอน ที่สอดประสานกัน  เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจ ความสนใจและความเป็นเลิศของผู้เรียน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น