วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ตัวละครที่ชื่นชอบ

การคิดวิเคราะห์สังเคราะห์อย่างมีเหตุผล ก็เป็นอีกหนึ่งของพฤติกรรมสมองที่แสดงออกถึงความเข้าใจ ดังนั้นครูผู้สอนจึงได้ใช้คำถามกระตุ้นคิดกับผู้เรียนหลังจากที่อ่านวรรณกรรมจบ เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างสม่ำเสมอ


อย่างเช่น พี่ๆ ป.๔ ที่อ่านวรรณกรรม "สายลมกับทุ่งหญ้า" จบแล้ว   ครูยิ้ม (ครูผู้สอน) ก็ได้ตั้งคำถามแล้วให้ผู้เรียนวาดภาพและเขียนวิเคราะห์ตัวละครที่ชื่นชอบ พร้อมนำเสนอสู่กันและกันฟัง



ผลงานของเด็กๆ





ความประทับใจ...ในวรรณกรรมที่อ่าน

เมื่ออ่านวรรณกรรมจบแล้ว ครูผู้สอนจะกระตุ้นถาม "มีความประทับใจอะไรจากเรื่องที่เราได้อ่าน"
กิจกรรมนี้ ผู้เรียนจะได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ สังเครราะห์ และได้ใช้ทักษะทางภาษาในการเขียนและพูดนำเสนองาน

ตัวอย่าง....ชิ้นงาน "ความประทับใจของพี่ป.4-5 หลังจาการอ่านวรรณกรรม" (วรรณกรรม เรื่อง อธิษฐานสิจ๊ะกับนางฟ้าสีเขียว และสายลมกับทุ่งหญ้า สอนโดย...ครูยิ้ม)







 

ถ่ายทอดความเข้าใจ

หลังจากกิจกรรมที่ผู้เรียนได้อ่านอ่านวรรณกรรม แล้วสนทนาถามตอบที่เชื่อมสู่พฤติกรรมสมองและแล้ว ครูผู้สอนจะกระตุ้นด้วยคำถาม "เรื่องที่ได้อ่านจะถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจได้ง่าย ได้อย่างไร" ซึ่งผู้เรียนจะได้ใช้ทั้งทักษะการคิด ทักษะทางภาษา เพื่อทำชิ้นงานที่สื่อความเข้าใจออกมาสู่คนอื่น

ตัวอย่างกิจกรรม 
"ถ่ายทอดภาษาจากร้อยแก้วเป็นการ์ตูนช่องหลากหลายมิติ กระตุ้นการคิดและจินตนาการของพี่ ป.๕" โดย...ครูยิ้ม




วรรณกรรม "อธิษฐานสิจ๊ะกับนางฟ้าสีเขียว" ที่ พี่ๆ ป.๕ ได้อ่าน







การ์ตูนช่อง.....ผลงานของผู้เรียน











 

จินตนาการก่อนเข้าสู่วรรณกรรม

จินตนาการนางฟ้าสีเขียว จากพี่ๆ ป.๕ ก่อนเรียนรู้ภาษาไทยผ่านวรรณกรรม.............
 
ชั่วโมงแรกของการเรียนรู้ภาษาผ่านวรรณกรรมนั้น ครูผู้สอนจะสร้างแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า "การสร้างฉันทะ" ในการเรียนรู้ก็ได้

ตัวอย่างกิจกรรมของพี่ๆ ป.๕ ที่ครูยิ้มได้กระตุ้นด้วยการทำกิจกรรมวาดภาพตัวละคร "นางฟ้าสีเขียว" ตามจินตนาการ

(ขอบคุณครูยิ้มและพี่ๆ ป.๕ ค่ะ)