วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แผนภาพโครงเรื่องเชื่อมโยงการคิด

หลังจากที่ครูได้นำวรรณกรรมมาให้นักเรียนได้คาดเดาเรื่องราวแล้วนั้น ในชั่วโมงต่อมานักเรียนก็จะติดตามในเรื่องราวนั้นๆ ด้วยการอ่าน

การอ่านเรื่องราวของวรรณกรรม สำหรับนักเรียนที่แรกเริ่มอ่าน คือ ประถม 1 คุณครูจะเป็นคนที่อ่านให้เด็กฟังก่อนก็ได้  จนเมื่อสังเกตเห็นว่าเด็กเริ่มอ่านได้แล้วค่อยให้เด็กเป็นคนอ่าน

เมื่ออ่านจบแล้ว คุณครูจะกระตุ้นด้วยคำถามชวนคิดที่เชื่อมโยงไปสู่พฤติกรรมสมอง  เช่น
-          มีตัวละครอะไรบ้าง
-          เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (จากแรกจนจบ) เป็นอย่างไร
-          เรื่องย่อโดยสรุปเป็นอย่างไร
-          ข้อคิดที่ได้คืออะไร
-          ความประทับใจ (ตัวละคร เหตุการณ์) ที่มีคืออะไร  เพราะอะไร
-    อยากเป็นหรือไม่อยากเป็นเหมือนตัวละครใด  เพราะอะไร
-    หากเปลี่ยนตอนใดตอนหนึ่งหรือตอนจบ จะเปลี่ยนอย่างไร
-          คำถามที่อยากรู้ / ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่มีคืออะไร

หลังจากที่ครูตั้งคำถาม นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น  คุณครูให้ภาระงาน/ ชิ้นงาน โดยเขียนเป็นแผนภาพโครงเรื่อง เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

ตัวอย่างผลงาน "แผนภาพโครงเรื่อง" ของนักเรียน




วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คาดเดาก่อนเรียน

กิจกรรมที่ทำให้นักเรียนได้ทำความรู้จักกับวรรณกรรมก่อนการเรียนรู้ คือ การคาดเดาเรื่องราว โดยครูอาจมีคำถาม เช่น
- เห็นภาพอะไรบ้าง และสิ่งที่เห็นน่าจะเกี่ยวข้องกันอย่างไร
- ได้ยินชื่อนี้แล้ว นึกถึงอะไร และคิดว่าเรื่องราวจะเป็นอย่างไร

หลังจากนั้นก็ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นผ่านการเล่าและวาดภาพ เพื่อสื่อถึงความคิดจินตนาการที่มีต่อวรรณกรรมนั้นๆ

ตัวอย่างชิ้นงาน



วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

นิทานสู่กิจกรรมการเรียนรู้

หนึ่งในวรรณกรรมที่นำมาใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ทางภาษา คือ นิทาน

นิทานเป็นโลกแห่งจินตนาการและภาษา เป็นการจำลองสถานการณ์ที่ให้เราได้คิดใคร่ครวญอย่างมีเหตุผล ซึ่งนอกจากจะได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว นิทานยังให้ข้อคิดในการนำมาปรับใช้กับชีวิต ทำให้มีนิสัยรักการอ่านและส่งผลต่อความสนใจในการเรียนรู้ทางภาษา ทำให้เข้าใจในภาษาได้มากขึ้นด้วย


การนำนิทานมาใช้ในกิจกรรมทางภาษานั้นต้องคำนึงถึง ความเหมาะสมกับเด็กแต่ละวัย เพราะโครงเรื่องของนิทานแต่ละเรื่องจะเหมาะกับวัยของเด็กแตกต่างกันไป
เมื่อนำนิทานมาใช้ในกิจกรรมทางภาษา คุณครูควรมีกิจกรรมที่เชื่อมโยงต่อเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้น ทั้งความเข้าใจในนิทานหรือความเข้าใจในหลักภาษาที่ครูต้องการให้เด็กในเรียนรู้จากนิทานเรื่องนั้นๆ

ตัวอย่างกิจกรรมที่ครูใช้ในการจัดกิจกรรมทางภาษาจาก "นิทาน"
·        คาดเดาเรื่อง (ก่อนฟังหรืออ่าน)
-          ได้ยินชื่อเรื่องนี้แล้ว คิดว่าเรื่องราวจะเป็นอย่างไร
-          เห็นอะไรจากภาพปกของนิทาน แล้วสิ่งที่เห็นนั้นเกี่ยวข้องกันอย่างไร
·         วาดภาพประกอบ (หลังฟังหรืออ่าน)
-          ตัวละครที่มีในเรื่องมีใครบ้าง
-          จากนิทานจะวาดภาพได้อย่างไร
·       •  เขียนแผนภาพโครงเรื่อง (เชื่อมโยงสู่พฤติกรรมสมอง)
-          ตัวละครที่มี
-          เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (จากแรกจนจบ)
-          สรุปเรื่องย่อ
-          ข้อคิดที่ได้
-          ความประทับใจ (ตัวละคร ตอน เหตุการณ์)
-          คำถามที่อยากรู้ / ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-    คำศัพท์ใหม่จากเรื่อง
·       •  แต่งเรื่องใหม่
-          อยากให้เรื่องตอนจบเป็นอย่างไร
-          หากเพิ่มตัวละครใหม่ลงไปหนึ่งตัว จะเพิ่มอะไร เพราะอะไร และเรื่องราวจะเป็นอย่างไร
·        ทำชิ้นงาน (สื่อความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับนิทาน)
-          งานศิลปะ / งานประดิษฐ์
-          ละคร  บทบาทสมมุติ
·        เชื่อมโยงหลักภาษา
              -     ค้นหาคำตามหลักภาษาที่ครูต้องการให้ผู้เรียนเข้าใจในการจัดกิจกรรมครั้งนั้นๆ
              -     นำเสนอ แลกปลี่ยนกับคนอื่น และสรุปองค์ความรู้ที่เข้าใจ 
              -     ทำแบบฝึก ใบงาน หรือชิ้นงาน  เพื่อเพิ่มเติมความเข้าใจ (การนำความรู้มาปรับใช้)